✨เส้นทางแห่งความประทับใจของฉันกับนักแปลท่านหนึ่ง
“บางครั้งศิลปะไม่ได้แค่เดินผ่านเรา… แต่มันหยุดยืนอยู่ข้างหัวใจเราเงียบๆ”
“Sometimes art doesn’t just pass us by… it pauses quietly beside our hearts.”
วันหนึ่งฉันได้ดู สี่แผ่นดิน ที่คุณสิริยากร พุกกะเวส รับบท “แม่พลอย”
One day, I watched Four Reigns, in which Siriyakorn Pukkavesa portrayed "Mae Phloi"
และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่ฉันเพิ่งค้นพบภายหลัง...ว่าเธอไม่ได้เป็นแค่ศิลปินทางด้านการแสดง
And that became the beginning of something I later realized… that she’s more than just a performer.
แม่พลอยในความทรงจำ
Mae Phloi in My Memory
การแสดงของเธอเรียบง่ายแต่ทรงพลัง ไม่หวือหวาแต่ชัดเจนในหัวใจ
Her acting was simple yet powerful—subtle, yet it etched itself deeply into my heart.
ฉันจดจำสายตาและวาจาของแม่พลอยได้แม่นยำ ราวกับเธอเคยมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์
I remember Mae Phloi’s gaze and words vividly, as if she had truly lived in history.
ไม่นานหลังจากนั้น ฉันได้อ่านนิยายเรื่อง หญิงสาวกับต่างหูมุก ฉบับแปลไทยโดย คุณอุ้ม สิริยากร
Not long after, I read the Thai translation of Girl with a Pearl Earring by Khun Aum Siriyakorn.
การแปลของเธอไม่ใช่แค่เปลี่ยนภาษา แต่คือการฟังเสียงต้นฉบับด้วยหัวใจ
Her translation wasn’t just a change of language—it was a heartfelt listening to the original’s voice.
แล้วถ่ายทอดออกมาด้วยสำนวนไทยอ่านเข้าใจง่ายและงดงาม
She rendered it in a Thai prose that was gentle, flowing, and accessible.
สำหรับนักอ่านที่รู้จักเธอจากบทบาทนักแสดง คุณอาจประหลาดใจที่พบว่าเธอเป็นนักแปลที่ละเมียดละไมไม่แพ้กัน
For those who know her as an actress, it might surprise you to discover how meticulous she is as a translator.
เป็นช่วงเวลาที่ฉันรู้สึกเหมือนแม่พลอยคนเดิมได้กลับมาเยือนในอีกบทบาท—บทของนักแปลผู้ประณีต
In that moment, it felt as though Mae Phloi had returned—this time in the delicate role of a translator.
💫สิ่งที่ทำให้การอ่านนิยายเล่มนั้นพิเศษยิ่งขึ้น
คือช่วงเวลาในชีวิตที่ทุกอย่างดูจะประจวบเหมาะอย่างน่าอัศจรรย์
What made reading that novel even more special
was how everything in my life aligned so perfectly in that moment.
📖เพื่อนคนหนึ่งแนะนำหนังสือให้ฉันอ่าน
และในเวลาเดียวกันนั้นเอง—
A friend recommended the book to me,
and at that very same time—
• ฉันเพิ่งลงเรียนวาดภาพ แม้จะเป็นแค่คลาสเล็ก ๆ ที่วาดด้วยดินสอและสีน้ำ
แต่มันกลับทำให้ฉันอินกับผลงานของโยฮันเนิส เฟอร์เมียร์อย่างลึกซึ้ง
จนต้องตามหาภาพวาดของเขาในอินเทอร์เน็ตแล้วนั่งดูอยู่นานหลายชั่วโมง
I had just enrolled in a small art class—just pencils and watercolors—
but it made me deeply connect with the works of Johannes Vermeer,
to the point I scoured the internet and stared at his paintings for hours.
• การลงลายเส้นและร่างแสงเงา
ทำให้ฉันรู้สึกเหมือนได้เข้าไปนั่งอยู่ในห้องเดียวกับหญิงสาวในภาพ
The act of sketching and shading light
made me feel as if I were sitting in the same room as the girl in the painting.
• ทุกวัน ฉันเปิดเพลย์ลิสต์เพลงคลาสสิกที่วนซ้ำไม่รู้เบื่อ
เสียงดนตรีบรรเลงของ บาค และ วิวัลดิ กลายเป็นแบ็กกราวด์ที่คุ้นเคย
Each day, I played a looping classical playlist that never grew old—
Bach and Vivaldi became my familiar background music.
• จังหวะของ ♪🎵Violin Concerto หรือ 🌤Four Seasons
คลออยู่ขณะฉันพลิกหน้ากระดาษของ Girl with a Pearl Earring ฉบับแปลไทย
หรือในตอนที่กำลังวาดภาพส่งอาจารย์
The rhythm of Violin Concerto or The Four Seasons
floated in the background as I turned the pages of Girl with a Pearl Earring in Thai,
or while painting for class assignments.
ทุกสิ่งทุกอย่างดูธรรมดา
แต่เมื่อมารวมกัน—มันคือบทบรรเลงที่ประกอบด้วย
ภาพ เสียง และถ้อยคำ จนฉันเผลอคิดว่า…
อาจมีใครบางคนออกแบบช่วงเวลานั้นไว้ให้ฉันโดยเฉพาะ
Everything seemed ordinary on its own,
but together, it became a symphony of image, sound, and words—
so harmonious that I wondered
if someone had crafted that moment just for me.
🛫ไม่นานหลังจากนั้น ฉันมีโอกาสเดินทางไปอเมริกา
ฉันไม่ได้ตั้งใจจะตามหาอะไร
แค่เดินเข้าไปในร้านหนังสือเล็กๆแถบชานเมือง
และพบ Girl with a Pearl Earring ฉบับภาษาอังกฤษวางอยู่ตรงชั้นไม้เงียบๆ
มันวางอยู่ซื่อๆอย่างนั้น แต่ฉันรู้ดี—
มันเคยส่งเสียงผ่านถ้อยคำแปลของคุณอุ้มแล้วในใจฉัน
Not long after, I had the chance to travel to the U.S.
I wasn’t searching for anything—just wandered into a small bookstore in the suburbs.
There it was: Girl with a Pearl Earring, the English edition,
resting quietly on a wooden shelf.
It looked still, but I knew—
its voice had already spoken to me once through Khun Oom’s Thai translation.
ฉันหยิบมันกลับบ้านทันที
พร้อมกับความทรงจำที่ประทับใจในเนื้อหาฉบับแปล
ที่สะท้อนก้องกลับมาอีกครั้ง
I took it home right away,
carrying with me the echo of that beloved translation—
its voice lingering still.
💌 บทส่งท้าย
💌Closing Thoughts
คุณสิริยากรสำหรับฉัน จึงไม่ใช่แค่นักแสดงหรือนักแปล
แต่คือศิลปินผู้เชื่อมโลกหลายใบเข้าด้วยกัน—
โลกแห่งการแสดง ภาษา ภาพวาด และเสียงดนตรี
For me, Khun Siriyakorn isn’t just an actress or translator—
she’s an artist who gently bridges multiple worlds:
performance, language, painting, and music.
เธอค่อยๆ พาฉันเดินผ่านนิยาย ประวัติศาสตร์ และบทเพลง
โดยที่ฉันไม่รู้ตัวเลยว่า
หัวใจฉันกำลังซึมซับศิลปะไปทุกจังหวะชีวิต
She guided me through stories, history, and music—
so subtly I didn’t realize my heart had absorbed art
with every passing beat of life.
และหนังสือเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเดียวที่ฉันมีทั้งฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทยเก็บไว้
(ถ้าไม่นับรวม องค์หญิงรัชทายาท นิยายของฉันเองอ่ะนะ 😁)
And this is the only book I own in both English and Thai—
(if you don’t count The Crown Princess, my own novel 😁).
💡 Girl with a Pearl Earring เป็นภาพวาดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของ
โยฮันเนิส เฟอร์เมียร์ (Johannes Vermeer)
และยังกลายมาเป็นแรงบันดาลใจของนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องนี้ด้วย
💡 Girl with a Pearl Earring is the most famous painting by
Johannes Vermeer, and it later inspired this historical novel.
💡 ทั้ง เฟอร์เมียร์, โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach)
และ อันโตนิโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi)
ต่างก็เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานในช่วงเวลาเดียวกัน
ยุคบาโรก (Baroque period) ซึ่งกินเวลาประมาณ ค.ศ. 1600–1750 🎼🎨
💡 Vermeer, Johann Sebastian Bach, and Antonio Vivaldi
were all artists who flourished during the same era—
the Baroque period (ca. 1600–1750). 🎼🎨