
การเรียนรู้ฉันทลักษณ์อาจดูเป็นเรื่องไกลตัวในวันที่เราเขียนนิยายเป็นบท ๆ ผ่านความรู้สึก แต่สำหรับฉัน…มันคือก้าวเล็ก ๆ ที่สวยงามระหว่างทางของนักเขียน ที่ทำให้ฉันได้เข้าใจ “เสียง” ของภาษาไทยในแบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน
กลอนสุภาพ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “กลอนแปด” เป็นหนึ่งในรูปแบบกลอนที่แพร่หลายที่สุดของไทย
มีลักษณะเด่นคือ แต่งเป็นบท ๆ บทละ 4 วรรค และ แต่ละวรรคมี 8 พยางค์ โดยมี บังคับสัมผัส เชื่อมโยงกันเป็นจังหวะที่นุ่มนวล ลื่นไหล
ในขณะที่เขียนนิยาย องค์หญิงรัชทายาท มีอยู่ช่วงหนึ่ง ฉันลองฝึกแต่งกลอนสุภาพด้วยความรู้สึกอยากถ่ายทอดอีกแง่มุมของตัวละคร — บางสิ่งที่อยากถ่ายทอดออกมาเป็นคำกลอน
และนี่คือตัวอย่างบทกลอน:
• นายทหารยอบเข้าบังคมกราบ ทหารราบอาชาม้าก้มถวาย
กระซาบซิบหยิบนามคำคมคาย จมื่นไวยรับตรัสสั่งคร่อมขบวน
กลอนบทนี้แต่งตาม ฉันทลักษณ์กลอนสุภาพ อย่างครบถ้วน ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานดังนี้:
- หนึ่งวรรคมี 8 คำ (บางครั้งอาจมี 7–9 คำในกรณียืดหยุ่น)
- สองวรรคเรียกว่า “บาท” และสองบาทรวมเป็นหนึ่งบท
- สัมผัสนอก คือ คำคล้องจองที่อยู่นอกวรรค (สัมผัสสระ) เป็นสัมผัสบังคับ
- สัมผัสใน คือ คำคล้องจองที่อยู่ในวรรค (สัมผัสสระ หรือสัมผัสพยัญชนะ)
ตัวอย่างสัมผัสในกลอนนี้
- กราบ สัมผัสกับ ราบ (สัมผัสนอกระหว่างวรรคที่ 1–2)
- ถวาย สัมผัสกับ คมคาย และ ไวย (ระหว่างวรรคที่ 2–3–4)
- กระซาบ ซิบ หยิบ, คำคมคาย(สัมผัสใน-เสียงสระและเสียงพยัญชนะเป็นต้น)
- ขบวน ปิดท้ายวรรคสุดท้ายโดยไม่สัมผัสต่อ เพราะเป็นจบบท
ในแต่ละวรรค คำท้ายวรรคลงเสียงวรรณยุกต์ตามข้อบังคับดังนี้
- วรรคสดับ: “กราบ” — ใช้เสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
- วรรครับ: “ถวาย” — ห้ามใช้เสียงสามัญและตรี
- วรรครอง: “คมคาย” — ห้ามใช้เสียงเอก โท และจัตวา
- วรรคส่ง: “ขบวน” — ใช้เสียงสามัญหรือตรี
กลอนบทนี้ฉันตั้งใจให้ใช้ในฉากพระราชกรณียกิจ ณ ป่าชายแดนขององค์ราชินีในเรื่อง ร้อยเรียงเพื่อเพิ่มบรรยากาศแบบไทยโบราณ ขณะเดียวกันก็ถือเป็นการฝึกเขียนของตัวเองไปด้วย
• ราชินีทรงรับสั่งกำหนดส่ง ทั้งเขตดงแดนป่าขัณฑสีม์
ให้หมวดหมู่หมื่นไวยอยู่อย่างดี เสบียงมีพอจำหน่ายมิขาดแคลน
จนอุษาเยือนมานภาผ่อง พลพวกพ้องประจำที่เข้าหวงแหน
พลธนูแยกฝั่งคุ้มเมืองแมน เขตชายแดนได้บำรุงอุทธรณ์มา
การจัดสัมผัสแบบสองบทต่อกัน
- จากบทที่ 1 วรรค 4 “ขาดแคลน” → เชื่อมสัมผัสกับบทที่ 2 วรรค 2 “หวงแหน”
- ใช้สัมผัสแบบคล้องจอง (วรรค 1 สัมผัส 3, วรรค 2 สัมผัส 4, วรรค 3 สัมผัส 3) อย่างครบถ้วนทั้งสองบท
ในแต่ละวรรค คำท้ายวรรคลงเสียงวรรณยุกต์ตามข้อบังคับดังนี้
- วรรคสดับ: “ส่ง”, “ผ่อง” — ใช้เสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
- วรรครับ: “ขัณฑสีม์”, “แหน” — ห้ามใช้เสียงสามัญและตรี
- วรรครอง: “ดี”, “แมน” — ห้ามใช้เสียงเอก โท และจัตวา
- วรรคส่ง: “แคลน”, “มา” — ใช้เสียงสามัญหรือตรี
บทนี้ฉันตั้งใจใช้กลอนเล่าเรื่องเพิ่มเติมเพื่อแสดงถึงภารกิจขององค์ราชินีในการดูแลหัวเมืองชายแดนให้มั่นคง พร้อมถ่ายทอดความเคลื่อนไหวของกองกำลังอย่างมีจังหวะ สง่างาม และยังรักษารูปแบบกลอนสุภาพเอาไว้
สรุป: ทำไมกลอนสุภาพจึงสำคัญกับฉัน
กลอนเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในอีบุ๊คเวอร์ชันเต็ม แต่ฉันเขียนมันขึ้นในช่วงที่กำลังพัฒนานิยายและหัดแต่งบทกลอน และมันช่วยให้ฉันเข้าใจ “น้ำเสียง” ของตัวละครได้ลึกขึ้นไปอีกขั้น
กลอนสุภาพ ไม่ได้มีไว้แค่ให้ไพเราะ แต่ยังช่วยขัดเกลาความคิดทางภาษา และทำให้ฉันรู้ว่าการใช้ถ้อยคำอย่างประณีตนั้นส่งความหมายมากเพียงใด
หากคุณสนใจจะอ่านกลอนเหล่านี้เพิ่มเติม (และกลอนอื่น ๆ ที่แต่งเสริมเนื้อเรื่องอย่างเช่นช่วงที่องค์ราชินีไปชายแดน)
สามารถติดตามอ่านได้ทาง ReadAWrite เท่านั้น (บทเสริม4ตอน ต่อจากนิยายตอนที่32นะคะ)
🔗 https://www.readawrite.com/a/cd25cb7259f6f8898da11d151d0a4f41
ส่วนในอีบุ๊คเวอร์ชั่นเต็มจะมีบทกลอนแทรกในเนื้อเรื่องและในภาคพิสดารรวมกว่า 50 บทพิเศษ และไม่ซ้ำกับเวอร์ชั่นออนไลน์ ฝากติดตามและอุดหนุน ดาวน์โหลดตัวอย่างฟรีได้ทุก🔗แพลทฟอร์ม
Cr. trueplookpanya.com/learning
ฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพ (Cr. : อลงกรณ์ พลอยแก้ว)
___
อ่านต่อ >> รู้จัก “ฉันทลักษณ์” กลอนภาษาอังกฤษในนิยายของฉัน
หรืออ่านบทความสาระเพิ่มเติมได้ที่นี่ >> สาระความรู้
สนับสนุนผลงานของนักเขียน
อีบุ๊ค | E-Books