แต่อย่างไรก็ดีนักเขียนก็ยังพยายามแปลกลอนบางบท แล้วนำใส่ไปในเล่มฉบับภาษาอังกฤษด้วย และได้เรียนรู้ฉันทลักษณ์ของกลอนในงานเขียนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะกลอนที่แทรกอยู่ในนิยาย จึงนำมาเรียบเรียงและใช้ตัวอย่างบทกลอนของนักเขียนเองมาสรุปอย่างง่ายๆให้พอจดจำและเห็นภาพกันในโอกาสนี้
จากนวนิยายแปลเรื่อง
The Crown Princess:
A Sapphic Royal Romance in a Southeast Asian-Inspired Kingdom
“ฉันทลักษณ์ (Rhyme Scheme)”
คือหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ถ้อยคำไหลลื่น สละสลวย และเข้าถึงอารมณ์ผู้อ่านได้อย่างลึกซึ้ง
กลอนที่นักเขียนใช้ในนิยาย มักอยู่ในรูปแบบเรียบง่ายแต่มีพลัง เช่น AABB และ AAAA ซึ่งเป็นรูปแบบที่นักเขียนและนักกวีทั้งในอดีตและปัจจุบันนิยมใช้ โดยแปลมาเป็นกลอนแปดในภาษาไทย หรือแปลจากกลอนแปดภาษาไทยไปเป็นภาษาอังกฤษ
1. AABB — คู่สัมผัสลำดับ
AABB คือโครงสร้างกลอนที่แต่ละ 2 วรรคแรกคล้องจองกัน และอีก 2 วรรคถัดไปก็คล้องจองกันอีกกลุ่มหนึ่ง
Whenever I draw near, my heart falters,
Steeped in unease, my courage shatters.
A glance from your eyes dissolves my resolve,
As if your gaze alone could claim my soul.
(บทกลอนจาก : The Crown Princess)
คำสัมผัส:
- falters / shatters → A
- resolve / soul → B
ลักษณะเด่นของ AABB:
- อ่านลื่นไหล ไม่ซับซ้อน
- เหมาะกับการถ่ายทอดความรู้สึกต่อเนื่อง เช่น ความรัก ความโหยหา ความหวั่นไหว
- เหมาะสำหรับบทกวีที่ต้องการให้คนอ่านเข้าใจและ "รู้สึก" ได้ในทันที
อ่านแล้วเข้าใจง่าย จึงเหมาะกับการแปลจากกลอนแปด ใครติดตามนักเขียนอยู่ลองเดาดูสิว่าบทนี้แปลมาจากบทไหน เพราะนักเขียนโพสบทนี้เพื่อโปรโมทพระสนมบ่อยมากกกก และส่วนตัวชอบทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับแปลภาษาอังกฤษเลย ใครชอบหรือไม่ไม่รู้ แต่เราต้องชอบงานเราเองไว้ก่อนไง
2. AAAA — สัมผัสสี่วรรคต่อเนื่อง
AAAA คือโครงสร้างกลอนที่วรรคทั้ง 4 ใช้สัมผัสเดียวกันทั้งหมด จึงต้องเลือกคำคล้องจองอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ฟังซ้ำซาก
Like warm waters beneath the earth’s expanse,
Breaking the surface in flickering trance.
Hot springs surge from the depths below, enhance
The night with stillness — a silent dance.
(บทกลอนจาก : The Crown Princess)
คำสัมผัส:
- expanse / trance / enhance / dance → A A A A
ลักษณะเด่นของ AAAA:
- สร้างจังหวะและเสียงที่เป็นจุดเด่น
- เหมาะกับการถ่ายทอดความงามของธรรมชาติ หรืออารมณ์ที่ค่อย ๆ พุ่งขึ้นแล้วจบลงอย่างงดงาม
ข้อดีของการใช้ Rhyme Scheme ในงานเขียน:
- ทำให้ผู้อ่านหยุดคิดกับคำที่เราเลือก
- สร้าง "ลมหายใจ" ให้อารมณ์ในนิยาย
- เสริมความโดดเด่นของตัวละคร หากใช้เป็น "เสียงในใจ" หรือ "บันทึกส่วนตัว"
และยังดีตรงที่มีความยืดหยุ่นในการใช้คำ เพราะเราอาจจะหาคำเสียงนั้น ๆ มาไว้แล้วแค่ต้องเลือกใช้ และต้องระวังเวลาออกเสียงให้ฟังลื่นไหล วิธีเช็คก็คือให้เอไออ่านให้ฟัง หรือใครใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักเหมือนเจ้าของภาษาก็ง่ายเลย
สำหรับกลอนบทนี้ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนเลย มีหลายเวอร์ชั่น แต่ยินดีที่จะใส่ไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและเพื่อน ๆ นักเขียนในอนาคต และขอไม่ใส่ต้นฉบับภาษาไทยให้ดูนะมันจะสปอยล์เกินไป ถ้าอยากรู้ว่าแปลจากบทไหนไปซื้อ องค์หญิงรัชทายาท มาอ่านกันค่ะ😎
อ่านเทคนิคอื่น ๆ ต่อ ↓
🔗 รู้จัก "กลอนแปด" หรือ "กลอนสุภาพ" จากองค์หญิงรัชทายาท
หรือดูทั้งหมดที่นี่ >> สาระความรู้
สนับสนุนผลงานของนักเขียน
อีบุ๊ค | E-Books